::INDEX::
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

5.แอล ดี อาร์

แอล ดี อาร์ (LDR)  เป็นชื่อย่อของ Light dependent resistor ซึ่งเป็นตัวต้านทานอีก

ชนิดหนึ่งที่ค่าของตัวต้านทานจะเปลี่ยนไปตามแสงที่ตกกระทบ LDR ที่เราพบบ่อยๆ มักจะใช้กับ

การวัดแสงในกล้องถ่ายรูป ส่วน LDR ที่ผู้อ่านจะได้รู้จักนี้เป็นตัวต้านทานที่ปรับค่าได้โดยขึ้นอยู่กับ

ปริมาณของแสง ถ้าไม่มีแสงหรือมีแสงปริมาณน้อยตกกระทบที่ LDR จะทำให้ LDR มีความ

ต้านทานสูง ในทางกลับกันถ้าปริมาณของแสงตกกระทบที่ LDR มาก ค่าความต้านทานของ LDR

 จะต่ำ และใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจรเป็น (dream) 2010221_16620.gif


(dream) 2010221_16475.jpg



ตัวต้านทานที่แปรค่าได้ เป็นตัวต้านทานอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในวงจรคล้ายๆกับ LDR แต่ค่า

ความต้านทานจะแปรค่าโดยไม่เกี่ยวกับแสง แต่จะหมุนแกนของตัวต้านทานแล้วค่าความต้านทาน

ก็จะเปลี่ยนแปลงไป นิยมใช้ในการควบคุมค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใน

การเพิ่มและลดเสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจรคือ(dream) 2010221_16631.gif

6.ตัวเก็บประจุไฟฟ้า

ตัวเก็บประจุหรือที่เรียกว่าแคแปซิเตอร์ (Capacitor) มีหลายชนิด แต่ทุกชนิดจะทำงานหรือมี

หน้าที่ในวงจรอย่างเดียวกันคือเก็บประจุ (Store electrons) ตัวเก็บประจุอย่างง่าย ๆ นั้นจะทำ

ด้วยการเอาตัวนำไฟฟ้าสองแผ่นมาประกบกันแล้วกั้นด้วยฉนวนไฟฟ้า ดังนั้นตัวเก็บประจุบางชนิด

จึงถูกเรียกชื่อหรือตั้งชื่อตามชนิดของฉนวนที่ใช้ เช่น เซอรามิก (Ceramaic) , ไมก้า (Mica)

เป็นต้น ส่วนตัวเก็บประจุชนิดน้ำยา (Electrolytic Capacitor) มีฉนวนเป็นชั้นบางๆ

ของออกไซด์ (Oxide) เกาะบนแผ่นอะลูมิเนียมบางๆ ตัวเก็บประจุชนิดนี้จะเป็นแบบมีขั้ว

(Porarized) ฉะนั้นเวลาใช้จะต้องต่อให้ถูกขั้วและที่สำคัญจะต้องทราบว่าตัวเก็บประจุนั้นมีค่า

ความจุ (Capacitance) ที่เหมาะสมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ ค่าความจุของตัวเก็บประจุจะมี

หน่วยวัดเป็น ฟารัด (Farad) หรือใช้อักษรย่อเป็น F ตัวเก็บประจุมีหลายแบบหลายขนาด แต่ละ

แบบมีความเหมาะสมกับงานแตกต่างกัน ตัวเก็บประจุโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 แบบคือ

6.1 ตัวเก็บประจุค่าคงที่  (Fixed Value Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ได้รับการผลิตให้มีค่า

คงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความจุได้ แต่จะปรับความจุให้เหมาะสมกับวงจรได้โดยนำตัวเก็บ

ประจุหลายๆตัวมาต่อกันแบบอนุกรมหรือขนาน สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ในวงจรคือ

(dream) 2010221_16514.gifหรือ(dream) 2010221_16529.gif

6.2 ตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าได้ (Variable Value Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่สามารถปรับ

ค่าได้ โดยทั่วไปมักใช้ปรับแต่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือพบในเครื่องรับวิทยุซึ่งใช้เป็นตัว

 เลือกหาสถานนีวิทยุ ตัวเก็บประจุชนิดนี้เป็นตัวเก็บประจุชนิดใช้อากาศเป็นสารไดอิเล็กทริก

และการปรับค่าจะทำได้โดยการหมุนแกน ซึ่งมีโลหะหลายๆแผ่นอยู่บนแกนนั้น เมื่อหมุนแกนจะทำ

ให้แผ่นโลหะเลื่อนเข้ากันทำให้ค่าประจุเปลี่ยนแปลงไป สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าได้ใน

วงจรจะเป็น (dream) 2010221_16539.gifหรือ(dream) 2010221_16550.gif

1 ฟารัด (farad หรือ F) = 1,000,000 ไมโครฟารัด (Microfarad)

 

 

   

 

 

1   2    3   4   5   6 

 

  กลับหน้าแรก 

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 24,271 Today: 3 PageView/Month: 147

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...